CIMB Banner

บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด

บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด เป็นบริษัทในเครือของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 8,000 ล้านบาท โดยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 99.99 โดยบริษัท มุ่งให้บริการสินเชื่อรถยนต์อย่างครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล บริการของบริษัท ประกอบด้วยบริการเช่าซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ สินเชื่อรถเปลี่ยนเงิน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว ปัจจุบันบริษัทมี 31 สาขา(รวมสำนักงานใหญ่) ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการทุกภาคทั่วประเทศ

รายชื่อคณะกรรมการ บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด

Mr.Tan Keat Jin
ประธานกรรมการ
คุณวิสิทธิ์ พึ่งพรสวรรค์
กรรมการ
คุณอาทิตย์ มาสถิรกุล
กรรมการ
คุณวีเจย์ มาโนฮาราน
กรรมการ
คุณอังกิต กัตกูทเทีย
กรรมการ

บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด มีนโยบายในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และเป็นไปตามหลักจริยธรรม โดยมุ่งเน้นให้ พนักงานมีทัศนคติร่วมกันในการต่อต้าน แก้ไขและรับผิดชอบต่อปัญหาการคอร์รัปชัน โดยการส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจตรงกันและปฏิบัติงานต่างๆ โดยสุจริตและเป็นไปตามนโยบายการกำกับ ดูแลกิจการ และจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัทที่ได้กำหนดไว้

บริษัทจะร่วมมือและสนับสนุนหน่วยงานภายนอก ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยการส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงานในการติดตาม ตรวจสอบ พัฒนาระบบและกลไกในการตรวจสอบควบคุมและถ่วงดุลการใช้อำนาจให้เหมาะสม ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อต้านการ คอร์รัปชันในพื้นที่ดำเนินการและประกอบธุรกิจ

เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ดังกล่าว บริษัทจึงได้ประกาศเจตนารมณ์เข้าเป็นหนึ่งในแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) และเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันของโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยดังกล่าว บริษัทจึงได้จัดทำและประกาศใช้แนวปฏิบัตินี้ และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท

รายละเอียด นโยบายการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชัน
รายละเอียด นโยบายและแนวปฏิบัติ เรื่องการให้ การรับของขวัญและการเลี้ยงรับรอง

คำนิยาม

"จรรยาบรรณ" หมายถึง แนวทางปฏิบัติที่ดีในการดำเนินธุรกิจ
"บริษัท" หมายถึง บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด
"กรรมการ ผู้บริหาร" หมายถึง กรรมการ ผู้บริหารตามสายงานของบริษัท
"ผู้บังคับบัญชา" หมายถึง ผู้บังคับบัญชาตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท
"พนักงาน" หมายถึง พนักงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท
"คู่ค้า" หมายถึง ผู้จัดหาสินค้าและบริการให้กับบริษัท
"ลูกค้า" หมายถึง ผู้ใช้บริการของบริษัท
"ผู้มีส่วนได้เสีย" หมายถึง ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ คู่แข่งทางการค้า ภาครัฐ ตลอดจนองค์กรอื่นๆ ในสังคม

จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ

จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจถือเป็นส่วนสำคัญในการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทจึงมีหลักการจรรยาบรรณ 11 ประการ เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ยึดเป็นกรอบในการปฏิบัติร่วมกัน ดังนี้
1. ลูกค้า
บริษัทมุ่งมั่นในการปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าตลอดเวลา เอาใจใส่ รับผิดชอบ และสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าด้วยการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
2. ผู้ถือหุ้น
บริษัทมุ่งมั่นให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โปร่งใส เกิดผลการดำเนินงานที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มั่นคงและเหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้น ตลอดจนพยายามอย่างเต็มที่ในการรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท
3. พนักงาน
บริษัทถือว่าพนักงานทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีค่าอย่างยิ่ง จึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานให้มีความก้าวหน้า มีความมั่นคงในอาชีพและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมตามความรู้ความสามารถและผลการปฏิบัติงาน
4.คู่ค้า/ เจ้าหนี้
บริษัทยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจ ด้วยความซื่อสัตย์ อยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามสัญญาและภายใต้เงื่อนไขทางธุรกิจที่เป็นธรรม และเสมอภาคต่อคู่ค้า/ เจ้าหนี้
5. ความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีคุณธรรมในวิชาชีพ
บริษัทมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจรรยาบรรณในการดำเนินงาน โดยยึดหลักความเสมอภาคในการให้บริการอย่างแน่วแน่ ไม่ช่วยเหลือหรือสมยอมให้เกิดการละเมิดกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
6. ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในนโยบายของบริษัทที่จะตอบแทนต่อสังคม บริษัทจึงมุ่งปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนให้มีกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมโดยรวม
7. ความรับผิดชอบต่อคู่แข่งขันทางการค้า
บริษัทมีนโยบาย ส่งเสริมการแข่งขันภายใต้กรอบกติกาที่เป็นธรรม โปร่งใส ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต และไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งด้วยการกล่าวร้าย หรือกระทำการใดๆ ที่ปราศจากความจริง หรือไม่เป็นธรรม
8. การรักษาความลับของลูกค้า
บริษัทสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า โดยปกป้องและรักษาข้อมูลของลูกค้าไว้เป็นความลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้านอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าหรือเป็นกรณีที่จำเป็นต้องเปิดเผยตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้เท่านั้น
9. ความรู้ ความสามารถในการประกอบธุรกิจ
บริษัทจะดำเนินธุรกิจในระดับเดียวกับผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ โดยให้มีการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ ผสมผสานด้วยความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการใช้ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพในการให้บริการแก่ลูกค้า เพื่อบรรลุผลในการดำเนินธุรกิจของบริษัท และเกิดประโยชน์ต่อลูกค้ามากที่สุด
10. ยึดถือ และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับอย่างเคร่งครัด
บริษัทยึดมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา โดยการดำเนินธุรกิจของบริษัทจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานของทางการ จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และข้อพึงปฏิบัติที่ดีของพนักงาน เพื่อประโยชน์ของลูกค้า และผู้ใช้บริการมากที่สุด
11. การให้ความร่วมมือต่อองค์กรที่กำกับดูแล
บริษัทมีนโยบายให้ความร่วมมือต่อองค์กรที่กำกับดูแลบริษัทอย่างเต็มที่ โดยบริษัทจะรายงานข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศต่อองค์กรที่กำกับดูแลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

จรรยาบรรณต่อผู้มีส่วนได้เสีย


บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ และภาครัฐ จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณต่อผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้


  1. ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น
    • ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ตลอดจนตัดสินใจดำเนินการใดๆ ด้วยความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นโดยรวม
    • บริหารจัดการให้บริษัทมีความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว
    • รายงานสถานะภาพและแนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคตของบริษัทต่อผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ ครบถ้วนตามความเป็นจริง
    • ไม่แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูลใดๆ ของบริษัท ที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะชน นำไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก หรือดำเนินการใดๆ ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท

  2. ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
    • มุ่งมั่นให้ลูกค้าได้รับประโยชน์และสร้างความพึงพอใจโดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีอย่างมีคุณภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความรวดเร็ว ตรงต่อเวลา
    • ปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลง หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อลูกค้าอย่างเคร่งครัด หากไม่สามารถปฏิบัติได้ ต้องรีบแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไขไม่ให้เกิดความเสียหาย
    • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการที่ถูกต้อง เพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจ โดยไม่กล่าวเกินความเป็นจริง อันเป็นเหตุให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณภาพ หรือเงื่อนไขใดๆ ของสินค้าหรือบริการ
    • ให้ความสำคัญในการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับของลูกค้า ไม่นำความลับของลูกค้าไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง
      จัดให้มีช่องทางและกระบวนการให้ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการให้บริการ โดยดำเนินการตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว
    • ไม่เรียก ไม่รับ หรือไม่ให้ผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตกับลูกค้า
  3. ความรับผิดชอบต่อคู่ค้า
    • ปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมและตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
    • ปฏิบัติตามสัญญา หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด กรณีไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ ต้องรีบแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมหาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหา
    • ไม่เรียก ไม่รับ หรือ ไม่ให้ผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตทางการค้ากับคู่ค้า
    • จัดให้มีกระบวนการคัดเลือกคู่ค้าที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามระเบียบ ขั้นตอนการจัดหาของบริษัทในเรื่องการคัดเลือกและการประเมินผู้ขายอย่างเคร่งครัด

  4. ความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้
    • ปฏิบัติตามสัญญา หรือเงื่อนไขต่างๆ ต่อเจ้าหนี้ อย่างเคร่งครัด หากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ ผูกพันในสัญญา ต้องแจ้งเจ้าหนี้ให้ทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา
    • รายงานฐานะทางการเงินภายใต้สถานะตามเหตุการณ์อย่างครบถ้วน และถูกต้อง
    • ไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการติดต่อกับเจ้าหนี้
  5. ความรับผิดชอบต่อคู่แข่งทางการค้า
    • ประพฤติ ปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาการแข่งขันที่ดี
    • ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้า ด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต หรือไม่เหมาะสม
    • ไม่พยายามทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้าย โดยปราศจากซึ่งมูลความจริง
  6. ความรับผิดชอบต่อพนักงาน
    • ปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเคร่งครัด
    • ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนโดยเสมอภาคกัน ไม่แบ่งแยกพื้นฐานในเรื่องเชื้อชาติ เพศ สีผิว ศาสนา ชาติกำเนิด อายุ ความพิการทางร่างกาย หรือลักษณะส่วนบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
    • การแต่งตั้งโยกย้าย การให้รางวัลและการลงโทษ รวมทั้งสวัสดิการ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถและความเหมาะสม รวมทั้งการกระทำ หรือ ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
    • ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ และมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง และการแก้ไขปัญหา ร่วมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงานทุกระดับ อย่างเท่าเทียม และเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ
    • ดูแลเอาใจใส่และให้ความสำคัญต่อการพัฒนา การถ่ายทอดความรู้และความสามารถของพนักงานให้มีความก้าวหน้า และมั่นคงในอาชีพ
    • ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานอยู่เสมอ
  7. ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
    • ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ดูแลด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
    • ปลูกฝังและส่งเสริมพนักงานให้มีจิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
    • ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของชุมชน และสังคม มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ศาสนา และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการสนับสนุนการศึกษาแก่เยาวชน และกิจกรรมสาธารณประโยชน์แก่ชุมชุมที่ด้อยโอกาส

จรรยาบรรณของกรรมการและผู้บริหาร


บริษัทมุ่งหวังให้กรรมการ และผู้บริหาร แสดงถึงเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท อย่างโปร่งใส และมีคุณธรรม ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานด้านจริยธรรมที่สูงที่สุดด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง และรอบคอบ เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม จึงกำหนดจรรยาบรรณใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับกรรมการ และผู้บริหาร ดังนี้


  1. ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
  2. ดำเนินกิจการของบริษัท ด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม โปร่งใสและมีคุณธรรม
  3. ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของบริษัท
  4. มีความเป็นอิสระในด้านการตัดสินใจ และการกระทำที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง
  5. ปฏิบัติหน้าที่ โดยหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ส่วนตนต่อผลประโยชน์ของบริษัท เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และโปร่งใส รวมถึง
    • ไม่หาผลประโยชน์จากการเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร หรือใช้ข้อมูลที่ได้รับจากการเป็น กรรมการหรือผู้บริหาร เพื่อผลประโยชน์ทางการเงินส่วนตน และไม่ใช้ข้อมูลนั้นเพื่อประโยชน์ทางการเงินของผู้อื่น
    • ไม่ใช้ความลับของบริษัทในทางที่ผิด
    • ไม่เป็นกรรมการในบริษัทที่เป็นคู่แข่งขันของบริษัท
    • ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียในการทำสัญญา
    • ไม่รับสิ่งของ หรือผลประโยชน์อื่นใด อันเป็นการขัดผลประโยชน์ของบริษัทเพื่อ ประโยชน์ส่วนตนและบุคคลในครอบครัว
  6. ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียในกิจการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับบริษัท หรือในกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับบริษัท ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม
  7. รักษาข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัท และผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ให้รั่วไหลไปยังบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้มีส่วนได้เสีย


จรรยาบรรณพนักงาน

ธุรกิจบริษัท เป็นธุรกิจให้บริการด้านการเงินในการให้สินเชื่อรถยนต์ 
ซึ่งต้องดำเนินอยู่บนพื้นฐานของความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจจากทางการและประชาชนทั่วไป 
ดังนั้นพนักงานบริษัทควรมีจรรยาบรรณเพื่อยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

การปฏิบัติต่อตนเอง

  1. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรม มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
  2. ศึกษาหาความรู้และขยันหมั่นเพียรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
  3. ใช้วิชาความรู้ในการปฏิบัติงานอาชีพอย่างเต็มกำลังความสามารถ ไม่แสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
  4. ยึดมั่นในคุณธรรม ละเว้นจากอบายมุขทั้งปวง ไม่ประพฤติตนในทางที่อาจทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเอง
  5. หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ อันอาจกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของบริษัท หรือเป็นปัญหาเสื่อมเสียต่อองค์กรในภายหลัง
  6. ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตน หรือยินยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม แสวงหาประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น 
     

การปฏิบัติต่อลูกค้า


  1. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรม มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
  2. ศึกษาหาความรู้และขยันหมั่นเพียรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
  3. ใช้วิชาความรู้ในการปฏิบัติงานอาชีพอย่างเต็มกำลังความสามารถ ไม่แสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
  4. ยึดมั่นในคุณธรรม ละเว้นจากอบายมุขทั้งปวง ไม่ประพฤติตนในทางที่อาจทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเอง
  5. หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ อันอาจกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของบริษัท หรือเป็นปัญหาเสื่อมเสียต่อองค์กรในภายหลัง
  6. ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตน หรือยินยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม แสวงหาประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น
     

การปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน


  1. สนับสนุนให้เกิดความสามัคคี มีการทำงานเป็นทีม ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือเกื้อกูลในการทำงานซึ่งกันและกันในทางที่ชอบเพื่อประโยชน์ต่องาน ของบริษัท ปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษย์สัมพันธ์อันดี และให้เกียรติต่อกัน
  2. มีทัศนคติที่ดีต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน ไม่กล่าวร้ายหรือวิพากษ์วิจารณ์โดยปราศจากความจริงและไม่เป็นธรรม หรือกระทำอันก่อให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่คณะ
  3. พึงมีสัมมาคารวะและให้เกียรติต่อผู้บังคับบัญชาและผู้มีตำแหน่งสูงกว่า ไม่กระทำการใดๆ ที่ผิดขั้นตอน หรือข้ามสายการบังคับบัญชา
  4. ไม่กระทำการล่วงเกิน คุกคามด้วยพฤติกรรม หรือ ด้วยวาจา ทำให้เกิด หรือ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อพนักงาน หรือต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
  5. รับฟังความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาและบุคคลอื่น และพิจารณานำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่องานของบริษัท
  6. ไม่ประพฤติตนไปในทางที่นำความเสื่อมเสีย หรือนำความเสียหายมาสู่หมู่คณะหรือบริษัท
     

การปฏิบัติต่อองค์กร


  1. สนับสนุนนโยบายของบริษัท และปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบงาน ประกาศ คำสั่งใดๆ ข้อกำหนด และมติคณะกรรมการ หรือหนังสือเวียนของบริษัท โดยเคร่งครัด
  2. ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำหรือ ปกปิดการกระทำใดๆ ที่ผิดกฎหาย
  3. ปฏิบัติงานของบริษัทให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ หรือผลเสียหายที่จะมีต่อบริษัทเป็นสำคัญ
  4. มุ่งรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท ติดตามผลงานที่ทำ และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว ในเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน หรือชื่อเสียง หรือผลประโยชน์ของบริษัท
  5. มีทัศนคติที่ดี ไม่กล่าวร้ายต่อบริษัทโดยปราศจากความจริงและไม่เป็นธรรม รักษาชื่อเสียงและเกียรติภูมิของบริษัท ตลอดจนระมัดระวังการแสดงความเห็นต่อบุคคลภายนอกในเรื่องที่อาจกระทบกระเทือน ต่อชื่อเสียงและการดำเนินงานของบริษัท
  6. ไม่ประกอบกิจการหรือลงทุนใดๆ อันเป็นการแข่งขัน หรือเป็นเหตุให้เกิดการขัดผลประโยชน์กับบริษัท หรือเป็นพนักงานประจำหรือพนักงานชั่วคราวในองค์กรอื่นที่ดำเนินกิจการในลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน หรือบริษัทที่เป็นคู่แข่งขัน หรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งกับบริษัท
  7. ให้ความร่วมมือ ดูแล รักษา ระมัดระวัง และใช้ทรัพย์สินของบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่สิ้นเปลืองสูญเปล่าตลอดจนไม่ให้เสื่อมเสียเร็วกว่ากำหนดหรือสูญหาย

การปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

  1. ช่วยเหลือ และสนับสนุนกิจกรรมที่บริษัทได้จัดขึ้นเพื่อการสังคมต่างๆ อย่างต่อเนื่องทั้งโครงการระยะสั้นและโครงการระยะยาวที่สนับสนุนทั้งองค์กร ภาครัฐและภาคเอกชนในด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และกีฬา
  2. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและสังคม คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมของบริษัทเป็นสำคัญ

การใช้ทรัพย์สินขององค์กร

  1. พนักงานต้องงดเว้นการใช้ทรัพย์สิน อุปกรณ์และเวลาปฏิบัติงานของบริษัทเพื่อประโยชน์ส่วนตน ตลอดจนงดเว้นการนำตำแหน่งหน้าที่ และความเกี่ยวข้องกับบริษัทของตนไปแสดงออก เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ผลประโยชน์ทางการเมืองหรือเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองใดๆ
  2. พนักงานต้องไม่เจตนาทำลายหรือทำให้ทรัพย์สินของบริษัทเสียหาย
  3. พนักงานต้องไม่หาประโยชน์ส่วนตนจากทรัพย์สินของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ของบริษัท เพื่อกิจธุระส่วนตัว การนำทรัพย์สินไปขาย ให้ยืม จำนำ จำนอง หรือ จำหน่ายจ่ายโอนโดยไม่ได้รับอนุญาต
  4. ในการจัดซื้อ เก็บรักษาและจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ และวิธีปฏิบัติที่บริษัทกำหนด

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์


  1. พนักงานต้องยึดถือประโยชน์ของบริษัท ภายใต้ความถูกต้องตามกฎหมาย และจริยธรรม ไม่มีการเอื้อประโยชน์หรือให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดเพื่อให้ตนได้รับประโยชน์ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
  2. ต้องไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัทไม่ว่าจะเกิดจากการติดต่อกับผู้เกี่ยวข้องทางการค้าของบริษัท เช่น คู่ค้า คู่แข่ง หรือจากการใช้โอกาส หรือที่ได้ข้อมูลจากการเป็นพนักงานในการหาประโยชน์ส่วนตน และในเรื่องการทำธุรกิจที่แข่งกับบริษัท หรือการทำงานอื่นนอกเหนือจากงานของบริษัท ซึ่งส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของบริษัท
  3. ต้องเปิดเผยสถานะส่วนตัวหรือธุรกรรมใด ๆ ที่อาจให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือทำให้เกิดความเข้าใจว่ามีความขัดแย้งทางผลประโยชน์

การรักษาความลับของบริษัท


  1. รักษาความลับของบริษัท ดูแลและระมัดระวังมิให้เอกสารหรือข่าวสารอันเป็นความลับของบริษัทรั่วไหล รวมทั้งการไม่ให้ข่าวสารหรือเอกสารใดที่ไม่พึงเปิดเผยแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยว ข้อง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากบริษัท
  2. ไม่นำเอกสาร หรือข้อมูลของลูกค้าไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่น
  3. ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นความลับของบริษัท
  4. ไม่เปิดเผยค่าจ้าง เงินเดือน เงินรางวัลพิเศษ หรืออัตราการขึ้นเงินเดือนของตนเองหรือของบุคคลอื่น ให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบ
  5. กรณีที่พนักงานได้รับการร้องขอให้เปิดเผยข้อมูลความลับของ ลูกค้า ของบริษัท ของตนเองหรือของบุคคลอื่น จะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาระดับผู้จัดการสาขา หรือผู้บังคับบัญชาตามสายงานทราบ และต้องได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว

การเรียกหรือรับผลประโยชน์อันเป็นสิ่งจูงใจ

  1. ไม่เรียกร้อง หรือรับของกำนัล หรือผลประโยชน์อื่นใดจากลูกค้า รวมถึงการรับสินค้า หรือการบริการในราคาพิเศษ ซึ่งเป็นราคาที่ไม่ได้ใช้กับบุคคลทั่วไป
  2. ไม่กู้ยืมเงินจากลูกค้า หรือบุคคลที่มีส่วนได้เสีย
  3. ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการของลูกค้า ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
  4. ไม่รับค่าตอบแทน เงินสด หรือข้อเสนอผ่อนปรน หรือ ข้อเสนอพิเศษ (รวมทั้งหุ้น) จากลูกค้า ผู้ร่วมธุรกิจหรือจากบุคคลอื่นใดๆ
  5. หากได้รับเชิญจากลูกค้าหรือผู้ร่วมธุรกิจของบริษัท ให้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ก่อน/ หลังเปิดขายต่อสาธารณะชน พนักงานจะต้องขออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น



การทำงานอื่นหรือกิจกรรมภายนอก/ การร่วมเป็นวิทยากรภายนอก และการเขียนบทความเผยแพร่สู่สาธารณชน


  1. ไม่สนับสนุนให้รับงานอื่นที่นอกเหนือจากงานของบริษัท รวมทั้งการรับตำแหน่งเป็นกรรมการของบริษัทภายนอก รับเป็นที่ปรึกษา หรือรับงานในกิจการภายนอกบริษัท พนักงานที่จะประสงค์จะรับตำแหน่ง หรือรับทำงานให้กับองค์กรอื่น จะต้องได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท
  2. พนักงานที่ประสงค์จะทำงานในกิจการอื่นใดนอกเหนือจากงานบริษัท หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางธุรกิจกับองค์กรภายนอก จะต้องได้รับการอนุมัติจากบริษัทก่อน
  3. การเข้าร่วมกิจกรรมในองค์กรภายนอกดังกล่าว พนักงานจะต้องยื่นขออนุมัติเป็นการล่วงหน้า และหากจำเป็นในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ควรยึดแนวปฏิบัติดังนี้
    • การรับตำแหน่ง การร่วมกิจกรรม ต้องไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัท
    • การรับตำแหน่ง การร่วมกิจกรรม ไม่กระทบกับเวลาทำงานของพนักงาน
    • ไม่ทำให้เสื่อมเสียต่อภาพพจน์ และชื่อเสียงอันดีของบริษัท
    • องค์กร หรือสถาบันที่ไปเข้าร่วม ไม่ได้เป็นคู่แข่งในเชิงธุรกิจกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นใน ทางตรง หรือทางอ้อมก็ตาม
  4. การเข้าร่วมหรือมีส่วนร่วม หรือรับตำแหน่งในองค์กรที่เกี่ยวกับวิชาชีพ ร่วมกิจกรรมของมูลนิธิการกุศล ศูนย์ชุมชน โบสถ์ หรือสมาคมของชุมชนสามารถกระทำได้ หากการดำเนินการนั้นไม่เป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัท และจะต้องแจ้งเพื่อให้บริษัททราบเป็นลายลักษณ์อักษร
  5. การเข้าร่วมกิจกรรมในกลุ่มองค์กรทางวิชาชีพ กลุ่มองค์กรท้องถิ่น หรือมีบทบาทโดยตรงหรือโดยอ้อมในกิจกรรมทางการเมือง จะต้องแจ้งให้องค์กรนั้นๆ ได้ทราบอย่างชัดเจนว่าการร่วมกิจกรรมเป็นเรื่องส่วนตัว มิใช่ในฐานะตัวแทนของบริษัท
  6. พนักงานผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท ที่เข้าร่วมกิจกรรมกับองค์กรหรือสถาบันอื่น จะต้องไม่ดำเนินการใดๆ ในการเป็นผู้ทำการอนุมัติรายการทางบัญชี รวมถึงจะต้องไม่เป็นผู้อนุมัติเกี่ยวกับสินเชื่อทุกประเภทให้แก่องค์กร หรือสถาบันนั้น
  7. พนักงานที่ได้รับเชิญจากสถาบันภายนอกให้ไปเป็นวิทยากร หรือ พนักงานที่ประสงค์จะเขียนบทความเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั่วไป พนักงานจะต้องใช้ดุลยพินิจในการรับคำเชิญนั้น
  8. ในการเป็นวิทยากร หรือ การเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ พนักงานจะต้องไม่ใช้ข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัท นอกเสียจากว่าจะได้รับอนุญาตจากบริษัทแล้วเท่านั้น
  9. พนักงานจะต้องระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ในบทความต่างๆ ที่เขียนว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของพนักงานเอง ไม่ใช่ความเห็นของบริษัท และพนักงานจะต้องยื่นคำขออนุมัติพร้อมแนบเอกสารเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่พูด ในฐานะวิทยากร หรือเนื้อเรื่องที่เขียนเพื่อเผยแพร่ และต้องได้รับการอนุมัติจากบริษัทก่อนไปเป็นวิทยากร หรือการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่


การรับของขวัญและการเลี้ยงรับรอง

  1. บริษัทไม่มีนโยบายสนับสนุนให้พนักงานรับของขวัญใดๆ จากลูกค้าและผู้ร่วมธุรกิจกับบริษัท ซึ่งรวมถึง ผู้ขายสินค้า/ บริการ คู่สัญญาทางธุรกิจกับบริษัท หรือจากบุคคลใดๆ เว้นกรณีที่เป็นเทศกาลสำคัญ และต้องมีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท กรณีที่มูลค่าเกินต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าเป็นการผิดระเบียบของบริษัท และคืนให้แก่ลูกค้า กรณีที่ไม่สามารถคืนได้ให้ส่งมอบให้กับผู้บังคับบัญชาตามสายงานเพื่อดำเนินการต่อไป
  2. พนักงานต้องหลีกเลี่ยงการเลี้ยงรับรอง หรือการแลกเปลี่ยนของกำนัล ที่มีมูลค่าสูงเกินสมควรหรือมีความถี่เกินสมควร เว้นแต่เป็นการเลี้ยงรับรองเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ และเป็นการรักษาสัมพันธภาพทางธุรกิจโดยปกติ
  3. พนักงานที่ไปร่วมงานเลี้ยงรับรอง หรือร่วมกิจกรรมกีฬา หรืองานเลี้ยงอาหาร งานรื่นเริง งานเปิดตัวสินค้า พิธีเปิดงาน ฯลฯ ซึ่งจัดโดยผู้ร่วมธุรกิจ โดยผู้ร่วมงานมาจากหลากหลายองค์กร และผู้มาร่วมงานทุกคนจะได้รับของขวัญ หรือของชำร่วย หรือมีการชิงรางวัล หากพนักงานได้รับของขวัญ หรือของรางวัลในงานดังกล่าว พนักงานไม่จำเป็นต้องแจ้งต่อบริษัท
  4. พนักงานต้องไม่รับของกำนัลจากผู้ใต้บังคับบัญชา หรือให้ของกำนัลกับผู้บังคับบัญชา
     

การติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตาม


  1. บริษัทให้ถือเป็นภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจนี้อย่างเคร่งครัด หากพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือกระทำการใดๆ ที่ขัดต่อจริยธรรมธุรกิจ บริษัทจะพิจารณาและดำเนินการตามความเหมาะสม และในกรณีที่การกระทำดังกล่าวขัดต่อระเบียบและข้อบังคับการทำงาน บริษัทจะพิจารณาดำเนินการลงโทษตามลักษณะเหตุตามแต่ละกรณี
  2. ผู้บริหารทุกระดับมีหน้าที่สอดส่องดูแลและรับผิดชอบที่จะดำเนินการให้พนักงานภายใต้บังคับบัญชาของตนปฏิบัติทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณของบริษัทนี้อย่างจริงจัง
  3. เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ สามารถสอบถามผู้บังคับบัญชา หรือทีมพนักงานสัมพันธ์ ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบชี้แจงให้ทราบถึงวิธีในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
  4. คณะทำงานกำกับดูแลกิจการที่ดี ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำจรรยาบรรณ และปรับปรุงให้เหมาะสมเป็นประจำอย่างน้อยทุก 2 ปี และนำเสนอคณะกรรมการ เพื่อขอความเห็นชอบ

รายละเอียด หลักจริยธรรมและหลักจรรยาบรรณ

บริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงจัดให้มีช่องทางและสนับสนุน ให้พนักงาน ผู้ร่วมธุรกิจ บุคคลที่เกี่ยวข้อง สาธารณชน หรือผู้มีส่วนได้เสีย แจ้งเบาะแสการรับสินบน คอร์รัปชัน หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นภายในบริษัท โดยไม่เปิดเผยตัวตนผ่านช่องทาง whistleblow@cimbthai.com

โดยเบาะแสที่แจ้งจะรายงานตรงไปยังประธานคณะกรรมการตรวจสอบของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัท หรือ ผ่านช่องทางภายนอกองค์กร โดยผู้แจ้งเบาะแสสามารถรายงานตรงไปยังหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานกำกับดูแลทางการ และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย เช่น ช่องทางร้องเรียนต่อทางการ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213 หรือจดหมายอิเล็คโทรนิกส์ email address fcc@bot.or.th เป็นต้น

ความเป็นมาของบริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด

ปี 2561
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) มีนโยบายให้บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด และปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 8,000 ล้านบาท มี 31 สาขา (รวมสำนักงานใหญ่) ครอบคลุมพื้นที่การให้ บริการทั่วประเทศ
ปี 2556
บริษัทมีทุนจดทะเบียน 3,500 ล้านบาท มี 33 สาขา ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการทั่วประเทศ
ปี 2554
ภายหลังการถือหุ้นของกลุ่มซีไอเอ็มบีใน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เซ็นเตอร์ ออโต้ ลีส จำกัด
ปี 2552
กลุ่ม ซีไอเอ็มบี ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจทางการเงินขนาดใหญ่ของประเทศมาเลเซีย ได้เข้าซื้อหุ้นและกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคาร ไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) โดยภายหลังการเข้าถือหุ้น ได้เปลี่ยนชื่อธนาคารเป็น ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
ปี 2548
บริษัทได้เริ่มกลับมาให้บริการสินเชื่อเช่าซื้ออีกครั้ง หลังจากที่หยุดให้บริการสินเชื่อแก่ลูกค้าในช่วงหนึ่งเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและเหตุการณ์วิกฤตสถาบันการเงินในช่วงปี 2541
ปี 2541
บมจ.กรุงไทยธนกิจ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ และอีก 12 บริษัทเงินทุนได้ถูกควบรวมเข้ากับ ธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน) ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) บริษัทจึงเข้ามาเป็นบริษัทในกลุ่มของธนาคาร ไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน) และต่อมาบริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท บีทีลีสซิ่งจำกัด
ปี 2538
บริษัทก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 ในชื่อ บริษัท เคทีทีลีสซิ่ง จำกัด โดยได้เริ่มให้บริการทางการเงินในธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งในกลุ่มของ บมจ.กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน)
Top